วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

What's next?

ซิโนเปค ยักษ์ใหญ่ของจีนได้ยุติการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทั้งหมด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เพียงพอต่อการใช้งานในประเทศ (และกักตุนไว้ใช้เผื่อมีการขาดแคลนในอนาคต)
http://www.energy-daily.com/reports/Chinas_Sinopec_cuts_off_oil_exports_state_media_999.html



ก่อนหน้านี้จีนก็ประกาศจำกัดโควตาการส่งออกธาตุหายาก และเพิ่มภาษีการส่งออกฯ เมื่อปี 2553
http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=9540000037147


ไม่กี่วันที่ผ่านมาประเทศไทย ก็ประกาศเลิกงดออกไข่ไก่ เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ

พลังงาน แร่ธาตุมีอยู่อย่างจำกัด
อาหาร เราอาจผลิตเพิ่มขึ้นใหม่ได้ แต่ก็ต้องใช้เวลาเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 3-4 เดือนต่อฤดูเก็บเกี่ยว
เศรษฐกิจของโลกพึ่งพากันและกันอย่างแยกกันไม่ออก
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงตาจน ทุกประเทศก็คำนึงถึงประโยชน์ของตัวเองก่อนทั้งนั้น


คาดได้ว่าจะเห็นข่าวแบบนี้มากขึ้น บ่อยขึ้น ในปีนี้ และต่อๆ ไป
จากสินค้าชนิดหนึ่งไปสู่สินค้าอีกชนิดหนึ่ง ที่ดูเผินๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน 

แต่ในความต่าง มีความเหมือนที่น่ากังวลใจซ่อนอยู่
เพราะความเปราะบางของเศรษฐกิจ ความตึงตัวของอุปทาน
การกระทำเล็กๆ น้อยเหล่านี้  คือการค่อยๆ เติมฟืนเข้าไปในกองไฟ



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

2011 ยุคข้าวยากหมากแพง ตอน 4 ภาคน้ำมัน

น้ำมัน โลหิตสีดำ ที่หล่อเลี้ยงขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก นำมาซึ่งวิวัฒนาการ ความก้าวหน้า ความสะดวกสบาย ความมั่งคั่งของโลกในศตวรรษที่ 20  

น้ำมัน โลหิตของปีศาจ ที่ชักนำให้เกิดความขัดแย้ง สงครามในหมู่มนุษยชาติมานับครั้งไม่ถ้วน

คุณเคยลองหยุดคิดซักครั้งไหมว่า ชีวิตของคุณถ้าไม่มีน้ำมันจะเป็นอย่างไร หากไม่เคยลองหยุดคิดดูซักนิดครับ

เพราะเราเคยชินกับการมีชีวิตอยู่โดยพึ่งพิงพลังงานที่มีราคาถูก และมีปริมาณมากให้ใช้อย่างเหลือเฟือ   
 ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคที่พลังงานมีราคาแพง และ หายาก 
หากเราไม่เตรียมพร้อมต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น สุดท้ายสิ่งเดียวที่คุณทำได้อาจเป็นเพียงการร้องไห้คร่ำครวญ

ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับน้ำมันที่คุณควรทราบ
  • การสำรวจค้นพบบ่อน้ำมันใหม่ๆ ของโลกถึงจุดสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 1960 ในขณะที่ในปัจจุบัน ในแต่ละวัน เราบริโภคน้ำมัน มากกว่า ที่เราค้นพบบ่อน้ำมันและแหล่งผลิตใหม่ถึง 4 เท่า


  • จากการคาดการณ์ของผู้เชียวชาญด้านพลังงานจำนวนมากเชื่อว่าการผลิตน้ำมันของโลกได้มาถึงจุดสูงสุดของกำลังการผลิตแล้ว (Peak Oil)  แม้จะมีผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่าเราจะยังไม่ถึง Peak Oil จนกระทั่งปี 2020  ไม่ว่านักวิเคราะห์กลุ่มไหนจะเป็นฝ่ายถูกต้อง นั่นก็แสดงให้เห็นว่าเรากำลังอยู่บริเวณยอด “ดอยน้ำมัน“



  •  กำลังการผลิตน้ำมันของโลกหากไม่ลดลง ก็คงจะไม่สามารถเพิ่มจากนี้ได้อีกมากนัก



  • ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันของประชากรโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากจีน และ อินเดีย ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก 





  • ปัจจุบันประเทศซาอุดิอาราเบียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 24% ของปริมาณการค้าน้ำมันของโลก
  • เชื่อกันว่าประเทศซาอุ ยังมีปริมาณสำรองน้ำมันมากที่สุดในโลก และสามารถผลิตน้ำมันเพื่อรองรับความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของประชากรโลกได้อีกหลายปี

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เว็บไซท์ wikileaks ได้เผยแพร่เอกสารลับจากสถานทูตสหรัฐประจำกรุงริยาด แจ้งเตือนรัฐบาลสหรัฐว่า ประเทศซาอุอาจมีปริมาณสำรองน้ำมันที่จะผลิตเข้าสู่ตลาดไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นได้ และยังได้กล่าวอีกว่า ตัวเลขปริมาณสำรองน้ำมันที่ประเทศซาอุอ้างว่าตัวเองมีอยู่ อาจเป็นการกล่าวเกินจริงถึง 40%

หมายความว่า ความหวังที่นานาประเทศฝากให้ซาอุ และ กลุ่มโอเปค ช่วยประคับประคองไม่ให้ราคาน้ำมันขึ้นสูงเกินไปจากสภาวะน้ำมันแพงที่ประชากรโลกกำลังประสบอยู่ตอนนี้ จะไม่สำเร็จผล

*******

นอกจากเหตุผลด้านความตึงตัวของอุปสงค์อุปทาน ที่มีผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในขณะนี้แล้ว อีกสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำมันมีราคาสูงขึ้นคือการอ่อนค่าของเงิน US$ กราฟต่อไปนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันกับค่าเงิน US$ เมื่อ US$ แข็งค่า น้ำมันจะถูกลง และในทางตรงกันข้าม เมื่อ US$ อ่อนค่า น้ำมันจะแพง


จากบทความก่อนหน้า คุณคงทราบแล้วว่าค่าเงิน US$ กำลังอยู่ปริ่มขอบเหว ที่จะอ่อนค่าลงอย่างมาก และ รวดเร็ว ดังนั้นเราสามารถคาดการณ์ได้ว่า ราคาน้ำมันจะขึ้นสูงไปอีกมาก เมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น

******

ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นภูมิภาคที่มีการผลิต และ ส่งออกน้ำมันมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน

โครงสร้างประชากรที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก ทำให้มีปัญหาความว่างงานในประเทศต่างๆ มีอัตราสูง ทำให้เกิดการประท้วง จลาจล นำไปสู่ ความไม่มีเสถียรภาพของประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง 

ปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อกำลังการผลิต และ ปริมาณส่งออกของน้ำมันจากประเทศตะวันออกกลาง จากปัญหาในประเทศลิเบีย กระทบต่อปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบทั้งหมดของประเทศลิเบียทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นกว่า 20 US$ ต่อบาเรล

มีความพยายามก่อการประท้วงในประเทศซาอุดิอาราเบียแล้วหลายระลอก เป็นผลให้กษัตริย์อับบุลลาห์แห่งซาอุดิอาราเบียต้องอัดฉีดเงินกว่า 125000 ล้าน US$ เพื่อเสริมสร้างสวัสดิการต่างๆ ของประชาชนชาวซาอุ และทำให้สถานการณ์ควบคุมอยู่ได้ในปัจจุบัน ผลของการอัดฉีดดังกล่าว ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันของซาอุปัจจุบันอยู่ที่ 88  US$ ต่อบาเรล

แต่ การเคลื่อนไหวในประเทศซาอุยังไม่ยุติ  เพียงแต่รอเวลาให้สถานการณ์สุกงอมเท่านั้น
“The main threat is . . . Saudi instability when the current king dies. We know he is very ill but obviously there is no indication of how critical that condition is. But it is acknowledged that the next transition will present a much bigger threat to internal stability. . . . Vested interest groups have been waiting for this transition to push their agenda. Saudi experienced considerable regional instability up to 10 years ago but bought it off with higher oil-based spending. Today the problem is as bad, if not worse. There have been only a few of the promised reforms. . . . Resentment towards the wealth gap with the royals is very high. . . . Even if/when the instability in other countries, such as Libya, settles, the Saudi succession threat is now firmly on the table. What happens in Bahrain could be very key. That alone will keep the oil market nervous for this year.”  

หากการประท้วงและจลาจลในประเทศซาอุถูกจุดติด ปริมาณ supply น้ำมันของโลกจะถูกกระทบอย่างหนัก นอกจากราคาน้ำมันที่จะแพงสูงขึ้นมากแล้ว สิ่งที่เราอาจจะต้องเจอก็คือ สภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย


อ้างอิง

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

World bank said "We're Just ‘One Shock’ From Crisis "

ประธานธนาคารโลกนาย Robert Zoellick ได้ออกมาเตือนว่า เนื่องจากปัญหาราคาอาหารที่แพงขึ้น และสถานการณ์ stock อาหารที่ลดต่ำลงในปัจจุบัน ทำให้โลกกำลังอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหาร  เราอยู่ห่างจากวิกฤตนั้นเพียงอีก 1 วิกฤตทางปรากฏการณ์ธรรมชาติเท่านั้น

“You have one other weather event in some of these areas and you really take a danger zone and start to push people over the edge.”


http://www.bloomberg.com/news/2011-04-16/zoellick-says-world-economy-one-shock-away-from-food-crisis-1-.html

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

ญี่ปุ่นอาจต้องเพิ่มการนำเข้าข้าวอีกหนึ่งเท่าตัวในปีนี้

 ผลจากเหตุการณ์ซึนามิ และ อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว ในเขต Fukushima และใกล้เคียงได้แก่ Ibaraki, Miyagi, Iwate
อาจส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าข้าวเพิ่มจาก 8 ล้านตัน เป็น 15 ล้านตันในปีนี้

http://www.bloomberg.com/news/2011-04-12/japan-rice-buying-may-outstrip-supply-on-hoarding-marubeni-s-shibata-says.html




การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่รุนแรงขึ้นในปีนี้ กำลังส่งผลกระทบต่อ ความสามารถในการผลิตอาหารของโลก ปริมาณ stock ที่มีอยู่กำลังถูกใช้ให้ร่อยหรอลงไป และสำหรับธัญพืชหลายชนิด stock กำลังลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปี

จากระดับ stock ของอาหารที่กำลังลดต่ำลง เราจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นต่อผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่อาจเกิดขึ้น
และสุดท้ายอาจส่งผลรุนแรงถึงการขาดแคลนอาหารบางชนิดได้

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

2011 ยุคข้าวยากหมากแพง ตอน 3 ภาคอาหาร




ใช่ เราจ่ายค่าอาหารในปีนี้แพงกว่าปีที่แล้วมากทีเดียว

 แต่ถ้าผมจะบอกว่าประเทศไทยโชคดีกว่าหลายๆ ประเทศ ประชาชนในหลายประเทศต้องจ่ายค่าอาหารแพงขึ้นกว่าที่ประชาชนคนไทยต้องจ่ายมาก คุณจะประหลาดใจไหม?

จากการศึกษาของ FAO  พบว่าราคาอาหารของโลก เดือนมีนาคมปี 2011 แพงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว  ถึงกว่า 37% 

อย่างไรก็ตาม หากมองเฉพาะหมวดธัญพืช (cereal / grains ได้แก่ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ฯลฯ) ซึ่งถือเป็นอาหารหลักของคนทั้งโลก จะพบว่า ราคาธัญพืช เดือนมีนาคมปี 2011 แพงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว  ถึงกว่า 60%

จากการศึกษาของ World Bank ได้ประมาณการว่าประชากรโลกกว่า 44 ล้านคน ถูกผลักดันเข้าไปอยู่ในข่ายยากจนสุดๆ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนของปี 2010 http://www.worldbank.org/foodcrisis/food_price_watch_report_feb2011.html

ราคาอาหารที่สูงขึ้นนี้ คนยากจนคือคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่แพงขึ้น ที่ลำบากอยู่แล้วก็ลำบากมากขึ้นอีก


ในขณะที่ปริมาณความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ตามจำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณสำรองอาหารของเรากำลังเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้าม


จะเห็นได้ว่าปริมาณสำรองธัญพืช (Grain / cereal stocks) ลดลงจากปริมาณสำรองไว้ใช้ได้ 3.8 เดือน ใน ปี 2000/2001  เหลือเพียง 2.5 เดือน ในการประมาณการสำหรับปี 2010/2011  


แนวโน้มระยะยาวดูแล้วไม่น่ากังวลไม่น้อย!!

แต่ปัจจัยกดดันราคา ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการกลับเป็นปัจจัยระยะสั้น โดยเฉพาะภัยพิบัติธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรง ที่เกิดขึ้นมากและรุนแรงในปีที่แล้ว และมีแนวโน้มถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้นในปีนี้ จะทำให้ปริมาณผลผลิตในปีนี้ลดน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ปริมาณสำรองจะถูกใช้มากขึ้นไปอีก และกดดันให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง


สถานการณ์ ภาวะอดอยาก ขาดแคลนอาหาร ของโลก อาจกำลังเริ่มต้นขึ้น !!!
ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่อาจเป็นสัญญาณของ ภาวะอดอยาก ขาดแคลนอาหารทำกำลังดำเนินไปก็ได้
  1. กระทรวงเกษตรฯ ของสหรัฐ คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปีนี้ ปริมาณสำรองข้าวโพด ของจะลดต่ำสุดในรอบ 15 ปี http://www.cnbc.com/id/41490687
  2. จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีในฤดูการที่ผ่านมาเสียหายไปทั้งหมด http://www.cnbc.com/id/41046196
  3. UN คาดการณ์ว่าราคาอาหารในปีนี้ยังจะสูงขึ้นจากปีที่แล้วอีกกว่า 30% http://www.theglobeandmail.com/report-on-business/economy/global-inflation-fears-reach-new-heights/article1881500/?cmpid=rss1
  4. ฤดูหนาวที่ผ่านมา ประเทศบราซิลกลับถูกน้ำท่วม ดินถล่ม ครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ กระทบผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ http://www.reuters.com/article/2011/01/20/us-brazil-rains-idUSTRE70I68P20110120
  5. รัสเซีย ซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวสาลีลำดับต้นๆ ของโลก ในปีที่ผ่านมาต้องกลายเป็นผู้นำเข้า ข้าวสาลี อันเป็นผลจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง http://www.foreignpolicy.com/articles/2011/01/10/the_great_food_crisis_of_2011
  6. ประเทศจีน (โดยเฉพาะทางตอนบน) ประสพกับภาวะแห้งแรงที่ยาวนานและรุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี http://abcnews.go.com/Business/wireStory?id=12875276
  7.  ประเทศจีนนำเข้าข้าวโพด มากกว่าที่ได้ประมาณการไว้(โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐ) ถึง 9 เท่า http://www.zerohedge.com/article/corn-prices-soar-chinese-imports-increase-ninefold-compared-official-projections
  8. คาดการณ์ว่าประชากรของโลกประมาณ 1 พันล้านคน ต้องอยู่ในภาวะอดอยาก หิวโหย และบางคนเสียชีวิตเพราะไม่มีอาหารเพียงพอ ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 75 คือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี http://endoftheamericandream.com/archives/just-one-really-bad-year-away-from-a-horrific-world-famine

ทั้งนี้ยังไม่นับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและซึนามิที่ญี่ปุ่น ที่กระทบต่อพื้นที่เพราะปลูก การประมง และระบบการจัดจำหน่ายขนส่งภายในญี่ปุ่นอย่างรุนแรง เหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ของไทย กระทบต่อผลผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน



นอกจากภาวะตึงตัวของระดับอุปสงค์/อุปทาน ในสินค้าเกษตรแล้ว สาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตร/อาหาร ก็มีส่วนเกี่ยวพันโดยตรงกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นมาก ในแง่ของการขนส่ง และ แง่ต้นทุนการผลิต (ปุ๋ย และ สารเคมี)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนอาหารที่อาจเกิดขึ้น อาจไม่ได้มีสาเหตุจากการ Supply ไม่เพียงพอเท่านั้น แต่ปัญหาเรื่องการตกลงราคา การ แจกจ่าย และ การขนส่ง (distribution) เป็นอีกด้านหนึ่งของสภาวะที่อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้ การควบคุมราคา การกำหนดโควตาการส่งออก นำเข้า ของสินค้าบางประเภท ก็เช่นกัน หากนึกภาพไม่ออก ก็นึกถึงปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลนในบ้านเราช่วงเดือนที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียว



ท้ายที่สุด ผมมีคลิปมาฝากครับ

 ผมเพิ่งเจอเมื่อวาน ขณะที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาตะวันออกกลางในปัจจุบัน (ซึ่งตั้งใจว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับน้ำมันและตะวันออกกลางต่อไป) เป็นคลิปเกี่ยวกับการตีความไบเบิล บทวิวรณ์ (บทที่ทำนายถึงวันสิ้นโลก) ช่วงต้นและช่วงท้ายจึงเกี่ยวข้องกับทางศาสนาคาทอลิก หากไม่สนใจก็ข้ามไปเลยครับ 

ที่อยากให้ดูเริ่มที่นาที่ที่ ประมาณ 4.50 เป็นต้นไปถึงนาที่ที่ 13 ครับ เรื่องที่เขาทำออกมาเป็นคลิปวีดีโอ มีส่วนใกล้เคียงกับเนื้อหาที่ผมได้อ่าน และ รวบรวมสรุปมาในสองบทความที่ผ่านมา และ บทความนี้ อย่างไม่น่าเชื่อครับ 

เนื้อหาในคลิปอาจทำให้ตื่นตระหนก และ ดูน่ากลัว จีงอยากให้ชมด้วยใจเป็นกลาง และ ใช้วิจารณญาณในการใช้เหตุผลอย่างรอบคอบครับ

 





*****************

สถานการณ์ตอนนี้ คำถามที่ควรถาม ไม่ใช่ถามว่า ถ้าเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
แต่คำถามที่ถูกคือ จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเมื่อไหร่ แบบฉับพลันหรือ ค่อยเป็นค่อยไป

คุณพร้อมหรือยังครับ

ด้วยความปราถนาดี

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

2011 ยุคข้าวยากหมากแพง ตอน 2 ภาคการเงิน

คราวนี้ขอเน้นเรื่อง ระบบการเงินของ USA ที่กำลังล้มเหลว และจะกระทบกันไปทั้งโลก

ไม่ ต้องแทงกั๊กกันอีกแล้ว  Mr. Jim Sinclair ปรมาจารย์เกี่ยวกับการลงทุนเขียนในบทความฟันธงว่า “Hyperinflation is assured” ยุคข้าวยากหมากแพงเกิดขึ้นแน่นอน เราอาจไม่เห็นสัญญาณของความล้มเหลวอะไรอีก เพราะ ระบบ (ทุนนิยมของ USA) ไดล้มเหลวพังทลายลงไปเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักเท่านั้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือ มวลชน จะรับรู้ และ ตระหนักถึงความจริง (ความล้มเหลว) ที่กำลังเกิดขึ้น

เหมือนไฟลามทุ่ง จากก้นบุหรี่ ลามไปทั้งป่า !!
When Credit is lost, All is lost.

ถึงเวลานั้นความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสหรัฐจะลดลงอย่างรวดเร็ว

  • ทำ ให้นักลงทุนขายทิ้งพันธบัตรรัฐบาลของ USA ออกไป >> คนขาย มากกว่า คนซื้อ >> ราคาตก ส่วนลด (ผลตอบแทน หรือดอกเบี้ย) เพิ่มขึ้น >> กระทบต่องบประมาณ USA ที่ทำตัวเลขออกมาขาดดุลมหาศาลต้องกู้เพิ่ม และ กำลังต้องแก้กฎหมายให้สามารถก่อหนี้ได้เกิน 100% ของ GDP 


เกิด ขึ้นให้เห็นแล้ว ต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา PIMCO กองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ได้ขายพันธบัตรรัฐบาลที่ตนถือครองอยู่ออกจนหมดเกลี้ยง port เขาเห็นอะไรที่เราไม่เห็นหรือ?
http://www.reuters.com/article/2011/03/09/us-pimco-debt-idUSTRE7285M020110309

ญี่ปุ่น ซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ USA รายใหญ่ อันดับสองรองจากจีน อาจต้องเปลี่ยนสภาพจากผู้ซื้อเป็นผู้ขาย เพื่อนำเงินกลับไปฟื้นฟูประเทศอันเป็นผลจากแผ่นดินไหวและซึนามิ


ใน ขณะที่ ความต้องการใช้เงิน ของรัฐบาล USA ไม่ได้น้อยลดลงเลย ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของ USA ในปี 2010 อยู่ที่ประมาณ 1,300,000,000,000 US$ และจะเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ และ ปีหน้า


ต้องใช้เงิน แต่ไม่มีเงิน >> กู้เงิน (ขายพันธบัตรรัฐบาล) แต่ไม่มีคนซื้อ >> พิมพ์เงินใช้เอง
คุ้นๆ ไหมครับ แม้ว่าเหตุผลเบื้องหลัง และ เป้าหมายของการพิมพ์เงินของ USA ในช่วง 2 ปีที่ผ่านจะต่างไป แต่สุดท้าย All problems are met by QE (ปัญหาทั้งหมดถูกแก้ไขได้ด้วยการพิมพ์เงินเพิ่ม)

สิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่พ้นคือ แบงค์กงเต็กเอฟเฟ็ก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่จะเกิดรุนแรงขึ้นอีก เมื่อมีปริมาณเงินเติมเข้าไปในระบบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อพยายามประคับประคองค่าเงินของตนผูกกับ US$

โอกาส เดียวในการชะลอผลกระทบนี้ คือรัฐบาลสหรัฐต้องตัดลดงบประมาณอย่างเฉียบพลัน ทันที เพื่อไม่ให้มีการกู้เพิ่ม ไม่พิมพ์เงินเพิ่มอีก (อย่าลืมว่า ทำได้เพียงชะลอปัญหา เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว) ซึ่งจะกระทบทันทีต่อสวัสดิการของประชาชนชาว USA ต้องปรับลดจำนวนพนักงานของรัฐ ซึ่งก็จะกระทบต่อตัวเลขการจ้างงาน กำลังซื้อในประเทศ ประชาชนจะไม่พอใจรัฐบาล เป็นทางรอดที่ต้องยอมเจ็บเจียนตาย (หากยังไม่ลืม นายกชวน และ นายธารินทร์ รมว. คลัง ยังโดนด่ามาจนถึงวันนี้เพราะทำแบบนี้)


แต่ คุณจะได้เห็น ความกล้าหาญแบบนี้จากนักการในโลกยุคนี้บ้างไหม ยุคที่นักการเมืองไม่ว่าหน้าไหน ประเทศไหน ทำนโยบายเพียงแต่หวังเพียงการเลือกตั้งครั้งหน้าเท่านั้น

ประชานิยม คือสิ่งเสพติด ติดทั้งประชาชน และ นักการเมือง
เรากำลังโกงจากลูกหลานของเรา


  • ค่าเงิน US$ กำลังจะอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว

ทุก ครั้งที่มีความไม่สงบ มีสงคราม US$ จะแข็งค่าให้เห็นเสมอ ในฐานะ safe heaven ที่ปลอดภัยแข็งแกร่ง ไม่มีวันล่มสลาย แต่เหตุการณ์ความไม่สงบ การจลาจล ที่กำลังลุกลามบานปลายอยู่ในขณะนี้ กลับไม่มีส่วนช่วยให้ค่าเงิน US$ แข็งขึ้นเลย

เพราะความเชื่อมั่นต่อ US$ ในฐานะ Safe Heaven มันหมดไปแล้ว
US$ กำลังถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงเงินสกุลหนึ่ง เท่าเทียมกับเงินสกุล Euro, Yen, Yuan, ฯลฯ

When Credit is lost, All is lost.

แม้ หลายประเทศพยายามลดการใช้ US$ ในการทำธุรกรรมซื้อขายระหว่างกันมากขึ้น แต่โครงสร้างเศรษฐกิจโลกยังอ้างอิงกับ US$ อยู่เป็นหลักโดยเฉพาะการซื้อขาย commodities ต่างๆ เช่นน้ำมัน ทอง เงิน ทองแดง ยางพารา น้ำมันปาล์ม ข้าว ถั่วเหลือง ฯลฯ

เมื่อ US$ อ่อนค่า  หมายความว่า ราคา commodities ทั้งหลายกำลังจะแพงขึ้น ทั้งกระดาน โลหะทุกชนิด พืชอาหารทุกชนิด พลังงานทุกชนิด กำลังจะแพงขึ้น แพงขึ้นมาก

ยิ่ง ธนาคารกลางต่างๆ พยายามผูกค่าเงินของตนกับ US$ มากขึ้นเท่าใด ประชาชนในประเทศเหล่านั้นก็จะต้องก้มหน้าก้มตารับกับสภาพข้าวยากหมากแพง แบบเดียวกับที่กำลังจะเกิดขึ้นในสหรัฐ

ต่างกัน เพียง สหรัฐสามารถพิมพ์เงินขึ้นมาเอง เพื่อใช้ซื้อของเหล่านั้นได้เอง
แต่ประเทศเล็กๆ เช่นประเทศไทย ทำแบบนั้นไม่ได้!!!
(ตราบที่ยังไม่มีประเทศไหนยอมรับเงินบาทเพื่อแลกกับสินค้าของประเทศคู่ค้า)

มี การพูดคุยในกลุ่มประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจแล้ว นำโดย IMF เพื่อร่วมกันหาเงินสกุลใหม่ เป็นตัวกลางซื้อขายของเศรษฐกิจโลกแทน US$ แต่เราคงไม่สามารถได้รับความคืบหน้าในเรื่องนี้ในเวลาอันใกล้
http://www.guardian.co.uk/business/2011/feb/10/imf-boss-calls-for-world-currency

กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้  !!

ก่อนที่จะมีการพูดคุยกันเป็นรูปเป็นร่างอย่างจริงจัง US$ คงเสื่อมค่า และทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจโลกไปมากแล้ว

รัฐบาล จีน อินเดีย กระตุ้นให้ประชาชนในประเทศซื้อและถือครองทองคำมาตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อ preserve value ของทรัพย์สินของตน ทำไม? เขามองเห็นว่าค่าเงินเขาจะอ่อนค่าลงใช่หรือไม่ (เปรียบเทียบกับราคาของสินค้า ไม่ใช่เปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ)  เพราะเขาผูกค่าเงินตัวเองไว้กับ US$ หากค่าเงิน US$ ล้ม มีปัญหา ค่าเงินของประเทศเหล่านี้ก็จะมีปัญหาตามไปด้วยอย่างแน่นอน


อย่า ลืมว่าระบบมันล่มไปแล้ว สิ่งที่ยืนอยู่ได้ตอนนี้ ตั้งอยู่บนขาของความเชื่อมั่นเพียงขาเดียว เมื่อเริ่มมีความหวามระแวงในความเชื่อมั่นในสกุล US$ หรือความสามารถในการชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลของ USA เพียงเล็กน้อย เศรษฐกิจจะล้มครืนในพริบตา  (ลองนึกภาพเศรษฐกิจไทยช่วงต้มยำกุ้ง เราดูเหมือนไม่มีปัญหา(ทั้งๆ ที่ปัญหาหมักหมมมานาน) จนกระทั่งวันที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เปรียบเหมือนฝีแตก หลังจากนั้นก็เห็นความฟอนเฟะทีหมักหมมอยู่)


คุณพร้อมหรือยัง กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งน่ากลัวว่าจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที มากกว่าแบบค่อยเป็นค่อยไป
เป็น ความจำเป็นเร่งด่วน ที่เราจะดำรงตนในความไม่ประมาท ดูแลตัวเอง ครอบครัว คนรัก มิตรสหาย ของคุณ เพื่อฝ่าฟันยุคข้าวยากหมากแพงที่กำลังใกล้เข้ามา ไปด้วยกัน


ด้วยความปรารถนาดี

2011 ยุคข้าวยากหมากแพง

เรากำลังเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพงกันแล้ว เตรียมตัวกันพร้อมหรือยัง?

1. อาหาร
ราคาอาหาร และ ผลิตผลทางการเกษตรจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก พร้อมกันหรือยัง
  •  ภัย พิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง ภัยหนาว แผ่นดินไหว ซึนามิ ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย และ กระทบต่อหลายๆ ภูมิภาคทั่วโลก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันลดน้อยลงกว่าปกติ
  • แหล่ง อาหารใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ - มหาสมุทร - กำลังปนเปื้อน  หากสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเลวร้ายลงอีก (มีความเป็นไปได้ไม่น้อย) อาหารทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก (มหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของโลก) จะปนเปื้อนสารกำมันตรังสี คนจะไม่กล้าทานอาหารทะเล  และหันไปหาโปรตีนจากแหล่งอื่นแทน ทำให้เนื้อสัตว์ นม ไข่ มีราคาแพงสูงขึ้นไปอีกมาก

ZIMBABWE CRISIS/CBANK

A vendor arranges eggs on a new 100 billion Zimbabwean dollar note in Harare July 22, 2008. Zimbabwe's central bank introduced new higher-value 100 billion Zimbabwe dollar notes on Monday as part of a desperate fight against spiralling hyperinflation, the bank said. An egg now costs $35 billion. REUTERS/Philimon Bulawayo (ZIMBABWE) REUTERS

  • พืช อาหารถูกเปลี่ยนเป็นพืชพลังงาน  น้ำมัน(พลังงาน) ราคาแพง พืชถูกใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ ยิ่งน้ำมันแพง พืชจะถูกนำไปผลิตพลังงานมากขึ้น สุดท้ายอาหารก็แพงขึ้นตาม
  • Pollinator decline หรือปริมาณแมลงผสมเกสรลดลง การศึกษา (ตั้งแต่ปี 2006) ของ US แสดงให้เห็นว่าประชากรของแมลงผสมเกสรลดลงกว่าปีละ 30% นอกจากผลผลิตน้ำผึุ้งลดลงแล้ว ยังกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรที่ต้องอาศัยแมลงในการผสมเกสรด้วย (เช่นผลไม้ ดอกไม้) ทำให้ผลผลิตลดลง

2. พลังงาน 
  •  น้ำมัน ความสามารถในการผลิตน้ำมัน แหล่งพลังงานสำคัญที่สุดของมนุษยชาติในยุคปัจจุบัน ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว!!!! ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของโลกกลับเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะจากเอ เซีย (จีน และ อินเดีย)
  • การ ประท้วงในตะวันออกกลาง ส่งกระทบต่อกำลังการผลิตน้ำมัน เป้าหมายของผู้ชักใยการประท้วงในตะวันออกกลางระยะสั้น (อัลไกด้า และ อิหร่าน) คือ ซาอุ ประเทศส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ 1 ของโลก หากซาอุเกิดจลาจล ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกจะกระทบทันที ราคาน้ำมันจะพุ่งกระโดดในชั่วข้ามคืน  หากสถานการณ์บานปลาย เตรียมรับมือสภาวะน้ำมันแพง และ ขาดแคลนกันได้เลย
  • อุบัติเหตุ ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเทศญี่ปุ่น ทำให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์หยุดชะงักทั่วโลก ทำให้ความต้องการใช้ Carbon based fuel สูงขึ้นไปอีก
  • น้ำมันแพงจะกระทบเป็นลูกโซ่ ทำให้ค่าขนส่ง และพลังงานแพง และ สุดท้ายราคาอาหาร และ สินค้าทุกชนิดจะแพงขึ้นอีก

3. ระบบทุนนิยมกำลังล้มเหลว
FED (ธนาคารกลางสหรัฐ) ธนาคารกลางยุโรป และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (และธนาคารกลางประเทศอื่น) ได้พิมพ์เงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาหาศาลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นการพิมพ์เงินขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่ต้องใช้ทองคำ หรือโลหะมีค่าในการหนุนค่าเงิน
เมื่อปริมาณเงินล้นระบบ ราคาเงินก็ลดลง
มองในทางกลับกัน ก็คือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่างๆ นั่นเอง

ธนาคารกลางหลายๆ ประเทศในยุโรป และ อเมริกา มีหนี้สาธารณะปริมาณมหาศาล หลายๆ ประเทศอยู่ในระดับกว่า 90% ของ GDP
ปริมาณ หนี้ในระดับนี้ถือว่าทำให้ประเทศมีความเสี่ยงสูง บางประเทศชนเพดานที่กฏหมายกำหนดแล้ว ก่อหนี้เพิ่มไม่ได้อีก นอกจากแก้กฏหมาย ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก ต้นทุนในการกู้เพิ่มขึ้นไปอีก
**รูปเก่าไปหน่อย ปัจจุบัน USA กลายเป็น สีแดงเข้มไปแล้ว**

เพื่อ รับมือกับเงินเฟ้อที่ำกำลังเกิดขึ้น และกำลังจะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในระยะใกล้นี้ การขึ้นดอกเบี้ยเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยสะกัดเงินเฟ้อไม่ให้ลุกลามไปเร็ว นักได้
อย่างไรก็ตาม จากภาระหนี้ที่สูงมากของหลายประเทศ ทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านั้นเลือกที่จะไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะการขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นการเพิ่มภาระรายจ่ายให้แก่รัฐบาลในการจ่ายดอกเบี้ย
หลายๆ ประเทศกำลังจนมุม ไม่สามารถเลือกตัดสินใจ ทำได้เพียงซื้อเวลาไปก่อน
นั่นคือ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อที่สูงจะทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ คนจะไม่ฝากเงิน เงินเฟ้อจะไม่ชะลอ
ขี้ นดอกเบี้ย รัฐบาลจะมีภาระต่องบประมาณ (ที่ขาดดุลอยู่แล้ว) ต้องกู้หนี้ใหม่ มาจ่ายหนี้เก่า ไม่รู้จัดจบจักสิ้น ซึ่งหนี้ใหม่จะดอกแพงขึ้นอีก เป็นภาระต่องบประมาณมากขึ้นอีก เป็นวัฎจักรที่ไม่รู้จักจบสิ้น  สุดท้ายลงเอยด้วยการพิมพ์แบงค์เพิ่มขึ้นมาดื้อๆ แบบที่หลายประเทศได้ทำไปแล้ว (และมีผลต่อเงินเฟ้อทั่วโลก) นั่นเอง

เรา จะได้เห็นบางการล่มสลายของเศรษฐกิจ (financial meltdown) ของบางประเทศ ที่จะ trigger ให้เกิด domino effect ไปยังประเทศอื่นๆ จากยุโรป ไป อเมริกา สุดท้ายลุกลามไปทั่วโลก

การล่มสลายของเศรษฐกิจ จะทำให้เงิน (money) ของประเทศนั้นลดค่า ดูตัวอย่างวิกฤตต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทลดค่าจาก 25 บาทต่อ US$  เหลือเพียง 50 บาทต่อ US$ ในขณะนั้น

เมื่อ เศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ (โดยเฉพาะ USA) ล่มสลาย ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราของโลกก็จะประสบปัญหาหนัก ไม่สามารถหาค่ากลางเพื่ออ้างอิงค่าของเงินตราของแต่ละประเทศได้ ราคาอาหาร และพลังงาน ก็จะผันผวน เกิดภาวะขาดแคลน อาหารและพลังงานทั่วโลก


เพื่อเอาตัวรอดจากยุคข้าวยากหมากแพง ควรทำอย่างไร
1. ถือครองโลหะมีค่าเช่น เงิน ทอง ให้มากที่สุด ลดการถือครองเงินสดเหลือเฉพาะที่พอใช้จ่ายหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน
2. ปรับตัวพึ่งพิงตัวเองมากขึ้น ลดการพึ่งพิงระบบตลาด ระบบเศรษฐกิจให้น้อยลง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง และ ครอบครัว ให้มีความมั่นคงมากที่สุด โดยเฉพาะด้านอาหาร และ พลังงาน
3. ลดละเลิก โลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติด ฝึกตนให้ตั้งอยู่ในศีล และ ปัญญา