1. อาหาร
ราคาอาหาร และ ผลิตผลทางการเกษตรจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก พร้อมกันหรือยัง
- ภัย พิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง ภัยหนาว แผ่นดินไหว ซึนามิ ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย และ กระทบต่อหลายๆ ภูมิภาคทั่วโลก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันลดน้อยลงกว่าปกติ
- แหล่ง อาหารใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ - มหาสมุทร - กำลังปนเปื้อน หากสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเลวร้ายลงอีก (มีความเป็นไปได้ไม่น้อย) อาหารทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก (มหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของโลก) จะปนเปื้อนสารกำมันตรังสี คนจะไม่กล้าทานอาหารทะเล และหันไปหาโปรตีนจากแหล่งอื่นแทน ทำให้เนื้อสัตว์ นม ไข่ มีราคาแพงสูงขึ้นไปอีกมาก
- พืช อาหารถูกเปลี่ยนเป็นพืชพลังงาน น้ำมัน(พลังงาน) ราคาแพง พืชถูกใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ ยิ่งน้ำมันแพง พืชจะถูกนำไปผลิตพลังงานมากขึ้น สุดท้ายอาหารก็แพงขึ้นตาม
- Pollinator decline หรือปริมาณแมลงผสมเกสรลดลง การศึกษา (ตั้งแต่ปี 2006) ของ US แสดงให้เห็นว่าประชากรของแมลงผสมเกสรลดลงกว่าปีละ 30% นอกจากผลผลิตน้ำผึุ้งลดลงแล้ว ยังกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรที่ต้องอาศัยแมลงในการผสมเกสรด้วย (เช่นผลไม้ ดอกไม้) ทำให้ผลผลิตลดลง
2. พลังงาน
- น้ำมัน ความสามารถในการผลิตน้ำมัน แหล่งพลังงานสำคัญที่สุดของมนุษยชาติในยุคปัจจุบัน ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว!!!! ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของโลกกลับเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะจากเอ เซีย (จีน และ อินเดีย)
- การ ประท้วงในตะวันออกกลาง ส่งกระทบต่อกำลังการผลิตน้ำมัน เป้าหมายของผู้ชักใยการประท้วงในตะวันออกกลางระยะสั้น (อัลไกด้า และ อิหร่าน) คือ ซาอุ ประเทศส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ 1 ของโลก หากซาอุเกิดจลาจล ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกจะกระทบทันที ราคาน้ำมันจะพุ่งกระโดดในชั่วข้ามคืน หากสถานการณ์บานปลาย เตรียมรับมือสภาวะน้ำมันแพง และ ขาดแคลนกันได้เลย
- อุบัติเหตุ ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเทศญี่ปุ่น ทำให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์หยุดชะงักทั่วโลก ทำให้ความต้องการใช้ Carbon based fuel สูงขึ้นไปอีก
- น้ำมันแพงจะกระทบเป็นลูกโซ่ ทำให้ค่าขนส่ง และพลังงานแพง และ สุดท้ายราคาอาหาร และ สินค้าทุกชนิดจะแพงขึ้นอีก
3. ระบบทุนนิยมกำลังล้มเหลว
FED (ธนาคารกลางสหรัฐ) ธนาคารกลางยุโรป และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (และธนาคารกลางประเทศอื่น) ได้พิมพ์เงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาหาศาลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นการพิมพ์เงินขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่ต้องใช้ทองคำ หรือโลหะมีค่าในการหนุนค่าเงิน
เมื่อปริมาณเงินล้นระบบ ราคาเงินก็ลดลง
มองในทางกลับกัน ก็คือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่างๆ นั่นเอง
ธนาคารกลางหลายๆ ประเทศในยุโรป และ อเมริกา มีหนี้สาธารณะปริมาณมหาศาล หลายๆ ประเทศอยู่ในระดับกว่า 90% ของ GDP
ปริมาณ หนี้ในระดับนี้ถือว่าทำให้ประเทศมีความเสี่ยงสูง บางประเทศชนเพดานที่กฏหมายกำหนดแล้ว ก่อหนี้เพิ่มไม่ได้อีก นอกจากแก้กฏหมาย ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก ต้นทุนในการกู้เพิ่มขึ้นไปอีก
**รูปเก่าไปหน่อย ปัจจุบัน USA กลายเป็น สีแดงเข้มไปแล้ว**
เพื่อ รับมือกับเงินเฟ้อที่ำกำลังเกิดขึ้น และกำลังจะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในระยะใกล้นี้ การขึ้นดอกเบี้ยเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยสะกัดเงินเฟ้อไม่ให้ลุกลามไปเร็ว นักได้
อย่างไรก็ตาม จากภาระหนี้ที่สูงมากของหลายประเทศ ทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านั้นเลือกที่จะไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะการขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นการเพิ่มภาระรายจ่ายให้แก่รัฐบาลในการจ่ายดอกเบี้ย
หลายๆ ประเทศกำลังจนมุม ไม่สามารถเลือกตัดสินใจ ทำได้เพียงซื้อเวลาไปก่อน
นั่นคือ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อที่สูงจะทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ คนจะไม่ฝากเงิน เงินเฟ้อจะไม่ชะลอ
ขี้ นดอกเบี้ย รัฐบาลจะมีภาระต่องบประมาณ (ที่ขาดดุลอยู่แล้ว) ต้องกู้หนี้ใหม่ มาจ่ายหนี้เก่า ไม่รู้จัดจบจักสิ้น ซึ่งหนี้ใหม่จะดอกแพงขึ้นอีก เป็นภาระต่องบประมาณมากขึ้นอีก เป็นวัฎจักรที่ไม่รู้จักจบสิ้น สุดท้ายลงเอยด้วยการพิมพ์แบงค์เพิ่มขึ้นมาดื้อๆ แบบที่หลายประเทศได้ทำไปแล้ว (และมีผลต่อเงินเฟ้อทั่วโลก) นั่นเอง
เรา จะได้เห็นบางการล่มสลายของเศรษฐกิจ (financial meltdown) ของบางประเทศ ที่จะ trigger ให้เกิด domino effect ไปยังประเทศอื่นๆ จากยุโรป ไป อเมริกา สุดท้ายลุกลามไปทั่วโลก
การล่มสลายของเศรษฐกิจ จะทำให้เงิน (money) ของประเทศนั้นลดค่า ดูตัวอย่างวิกฤตต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทลดค่าจาก 25 บาทต่อ US$ เหลือเพียง 50 บาทต่อ US$ ในขณะนั้น
เมื่อ เศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ (โดยเฉพาะ USA) ล่มสลาย ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราของโลกก็จะประสบปัญหาหนัก ไม่สามารถหาค่ากลางเพื่ออ้างอิงค่าของเงินตราของแต่ละประเทศได้ ราคาอาหาร และพลังงาน ก็จะผันผวน เกิดภาวะขาดแคลน อาหารและพลังงานทั่วโลก
เพื่อเอาตัวรอดจากยุคข้าวยากหมากแพง ควรทำอย่างไร
1. ถือครองโลหะมีค่าเช่น เงิน ทอง ให้มากที่สุด ลดการถือครองเงินสดเหลือเฉพาะที่พอใช้จ่ายหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน
2. ปรับตัวพึ่งพิงตัวเองมากขึ้น ลดการพึ่งพิงระบบตลาด ระบบเศรษฐกิจให้น้อยลง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง และ ครอบครัว ให้มีความมั่นคงมากที่สุด โดยเฉพาะด้านอาหาร และ พลังงาน
3. ลดละเลิก โลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติด ฝึกตนให้ตั้งอยู่ในศีล และ ปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น