คราวนี้ขอเน้นเรื่อง ระบบการเงินของ USA ที่กำลังล้มเหลว และจะกระทบกันไปทั้งโลก
ไม่ ต้องแทงกั๊กกันอีกแล้ว Mr. Jim Sinclair ปรมาจารย์เกี่ยวกับการลงทุนเขียนในบทความฟันธงว่า “Hyperinflation is assured” ยุคข้าวยากหมากแพงเกิดขึ้นแน่นอน เราอาจไม่เห็นสัญญาณของความล้มเหลวอะไรอีก เพราะ ระบบ (ทุนนิยมของ USA) ไดล้มเหลวพังทลายลงไปเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักเท่านั้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือ มวลชน จะรับรู้ และ ตระหนักถึงความจริง (ความล้มเหลว) ที่กำลังเกิดขึ้น
เหมือนไฟลามทุ่ง จากก้นบุหรี่ ลามไปทั้งป่า !!
When Credit is lost, All is lost.
ถึงเวลานั้นความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสหรัฐจะลดลงอย่างรวดเร็ว
เกิด ขึ้นให้เห็นแล้ว ต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา PIMCO กองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ได้ขายพันธบัตรรัฐบาลที่ตนถือครองอยู่ออกจนหมดเกลี้ยง port เขาเห็นอะไรที่เราไม่เห็นหรือ?
http://www.reuters.com/article/2011/03/09/us-pimco-debt-idUSTRE7285M020110309
ญี่ปุ่น ซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ USA รายใหญ่ อันดับสองรองจากจีน อาจต้องเปลี่ยนสภาพจากผู้ซื้อเป็นผู้ขาย เพื่อนำเงินกลับไปฟื้นฟูประเทศอันเป็นผลจากแผ่นดินไหวและซึนามิ
ใน ขณะที่ ความต้องการใช้เงิน ของรัฐบาล USA ไม่ได้น้อยลดลงเลย ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของ USA ในปี 2010 อยู่ที่ประมาณ 1,300,000,000,000 US$ และจะเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ และ ปีหน้า
ต้องใช้เงิน แต่ไม่มีเงิน >> กู้เงิน (ขายพันธบัตรรัฐบาล) แต่ไม่มีคนซื้อ >> พิมพ์เงินใช้เอง
คุ้นๆ ไหมครับ แม้ว่าเหตุผลเบื้องหลัง และ เป้าหมายของการพิมพ์เงินของ USA ในช่วง 2 ปีที่ผ่านจะต่างไป แต่สุดท้าย All problems are met by QE (ปัญหาทั้งหมดถูกแก้ไขได้ด้วยการพิมพ์เงินเพิ่ม)
สิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่พ้นคือ แบงค์กงเต็กเอฟเฟ็ก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่จะเกิดรุนแรงขึ้นอีก เมื่อมีปริมาณเงินเติมเข้าไปในระบบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อพยายามประคับประคองค่าเงินของตนผูกกับ US$
โอกาส เดียวในการชะลอผลกระทบนี้ คือรัฐบาลสหรัฐต้องตัดลดงบประมาณอย่างเฉียบพลัน ทันที เพื่อไม่ให้มีการกู้เพิ่ม ไม่พิมพ์เงินเพิ่มอีก (อย่าลืมว่า ทำได้เพียงชะลอปัญหา เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว) ซึ่งจะกระทบทันทีต่อสวัสดิการของประชาชนชาว USA ต้องปรับลดจำนวนพนักงานของรัฐ ซึ่งก็จะกระทบต่อตัวเลขการจ้างงาน กำลังซื้อในประเทศ ประชาชนจะไม่พอใจรัฐบาล เป็นทางรอดที่ต้องยอมเจ็บเจียนตาย (หากยังไม่ลืม นายกชวน และ นายธารินทร์ รมว. คลัง ยังโดนด่ามาจนถึงวันนี้เพราะทำแบบนี้)
แต่ คุณจะได้เห็น ความกล้าหาญแบบนี้จากนักการในโลกยุคนี้บ้างไหม ยุคที่นักการเมืองไม่ว่าหน้าไหน ประเทศไหน ทำนโยบายเพียงแต่หวังเพียงการเลือกตั้งครั้งหน้าเท่านั้น
ประชานิยม คือสิ่งเสพติด ติดทั้งประชาชน และ นักการเมือง
เรากำลังโกงจากลูกหลานของเรา
ทุก ครั้งที่มีความไม่สงบ มีสงคราม US$ จะแข็งค่าให้เห็นเสมอ ในฐานะ safe heaven ที่ปลอดภัยแข็งแกร่ง ไม่มีวันล่มสลาย แต่เหตุการณ์ความไม่สงบ การจลาจล ที่กำลังลุกลามบานปลายอยู่ในขณะนี้ กลับไม่มีส่วนช่วยให้ค่าเงิน US$ แข็งขึ้นเลย
เพราะความเชื่อมั่นต่อ US$ ในฐานะ Safe Heaven มันหมดไปแล้ว
US$ กำลังถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงเงินสกุลหนึ่ง เท่าเทียมกับเงินสกุล Euro, Yen, Yuan, ฯลฯ
When Credit is lost, All is lost.
แม้ หลายประเทศพยายามลดการใช้ US$ ในการทำธุรกรรมซื้อขายระหว่างกันมากขึ้น แต่โครงสร้างเศรษฐกิจโลกยังอ้างอิงกับ US$ อยู่เป็นหลักโดยเฉพาะการซื้อขาย commodities ต่างๆ เช่นน้ำมัน ทอง เงิน ทองแดง ยางพารา น้ำมันปาล์ม ข้าว ถั่วเหลือง ฯลฯ
เมื่อ US$ อ่อนค่า หมายความว่า ราคา commodities ทั้งหลายกำลังจะแพงขึ้น ทั้งกระดาน โลหะทุกชนิด พืชอาหารทุกชนิด พลังงานทุกชนิด กำลังจะแพงขึ้น แพงขึ้นมาก
ยิ่ง ธนาคารกลางต่างๆ พยายามผูกค่าเงินของตนกับ US$ มากขึ้นเท่าใด ประชาชนในประเทศเหล่านั้นก็จะต้องก้มหน้าก้มตารับกับสภาพข้าวยากหมากแพง แบบเดียวกับที่กำลังจะเกิดขึ้นในสหรัฐ
ต่างกัน เพียง สหรัฐสามารถพิมพ์เงินขึ้นมาเอง เพื่อใช้ซื้อของเหล่านั้นได้เอง
แต่ประเทศเล็กๆ เช่นประเทศไทย ทำแบบนั้นไม่ได้!!!
(ตราบที่ยังไม่มีประเทศไหนยอมรับเงินบาทเพื่อแลกกับสินค้าของประเทศคู่ค้า)
มี การพูดคุยในกลุ่มประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจแล้ว นำโดย IMF เพื่อร่วมกันหาเงินสกุลใหม่ เป็นตัวกลางซื้อขายของเศรษฐกิจโลกแทน US$ แต่เราคงไม่สามารถได้รับความคืบหน้าในเรื่องนี้ในเวลาอันใกล้
http://www.guardian.co.uk/business/2011/feb/10/imf-boss-calls-for-world-currency
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ !!
ก่อนที่จะมีการพูดคุยกันเป็นรูปเป็นร่างอย่างจริงจัง US$ คงเสื่อมค่า และทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจโลกไปมากแล้ว
รัฐบาล จีน อินเดีย กระตุ้นให้ประชาชนในประเทศซื้อและถือครองทองคำมาตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อ preserve value ของทรัพย์สินของตน ทำไม? เขามองเห็นว่าค่าเงินเขาจะอ่อนค่าลงใช่หรือไม่ (เปรียบเทียบกับราคาของสินค้า ไม่ใช่เปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ) เพราะเขาผูกค่าเงินตัวเองไว้กับ US$ หากค่าเงิน US$ ล้ม มีปัญหา ค่าเงินของประเทศเหล่านี้ก็จะมีปัญหาตามไปด้วยอย่างแน่นอน
อย่า ลืมว่าระบบมันล่มไปแล้ว สิ่งที่ยืนอยู่ได้ตอนนี้ ตั้งอยู่บนขาของความเชื่อมั่นเพียงขาเดียว เมื่อเริ่มมีความหวามระแวงในความเชื่อมั่นในสกุล US$ หรือความสามารถในการชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลของ USA เพียงเล็กน้อย เศรษฐกิจจะล้มครืนในพริบตา (ลองนึกภาพเศรษฐกิจไทยช่วงต้มยำกุ้ง เราดูเหมือนไม่มีปัญหา(ทั้งๆ ที่ปัญหาหมักหมมมานาน) จนกระทั่งวันที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เปรียบเหมือนฝีแตก หลังจากนั้นก็เห็นความฟอนเฟะทีหมักหมมอยู่)
คุณพร้อมหรือยัง กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งน่ากลัวว่าจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที มากกว่าแบบค่อยเป็นค่อยไป
เป็น ความจำเป็นเร่งด่วน ที่เราจะดำรงตนในความไม่ประมาท ดูแลตัวเอง ครอบครัว คนรัก มิตรสหาย ของคุณ เพื่อฝ่าฟันยุคข้าวยากหมากแพงที่กำลังใกล้เข้ามา ไปด้วยกัน
ด้วยความปรารถนาดี
ไม่ ต้องแทงกั๊กกันอีกแล้ว Mr. Jim Sinclair ปรมาจารย์เกี่ยวกับการลงทุนเขียนในบทความฟันธงว่า “Hyperinflation is assured” ยุคข้าวยากหมากแพงเกิดขึ้นแน่นอน เราอาจไม่เห็นสัญญาณของความล้มเหลวอะไรอีก เพราะ ระบบ (ทุนนิยมของ USA) ไดล้มเหลวพังทลายลงไปเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักเท่านั้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือ มวลชน จะรับรู้ และ ตระหนักถึงความจริง (ความล้มเหลว) ที่กำลังเกิดขึ้น
เหมือนไฟลามทุ่ง จากก้นบุหรี่ ลามไปทั้งป่า !!
When Credit is lost, All is lost.
ถึงเวลานั้นความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสหรัฐจะลดลงอย่างรวดเร็ว
- ทำ ให้นักลงทุนขายทิ้งพันธบัตรรัฐบาลของ USA ออกไป >> คนขาย มากกว่า คนซื้อ >> ราคาตก ส่วนลด (ผลตอบแทน หรือดอกเบี้ย) เพิ่มขึ้น >> กระทบต่องบประมาณ USA ที่ทำตัวเลขออกมาขาดดุลมหาศาลต้องกู้เพิ่ม และ กำลังต้องแก้กฎหมายให้สามารถก่อหนี้ได้เกิน 100% ของ GDP
เกิด ขึ้นให้เห็นแล้ว ต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา PIMCO กองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ได้ขายพันธบัตรรัฐบาลที่ตนถือครองอยู่ออกจนหมดเกลี้ยง port เขาเห็นอะไรที่เราไม่เห็นหรือ?
http://www.reuters.com/article/2011/03/09/us-pimco-debt-idUSTRE7285M020110309
ญี่ปุ่น ซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ USA รายใหญ่ อันดับสองรองจากจีน อาจต้องเปลี่ยนสภาพจากผู้ซื้อเป็นผู้ขาย เพื่อนำเงินกลับไปฟื้นฟูประเทศอันเป็นผลจากแผ่นดินไหวและซึนามิ
ใน ขณะที่ ความต้องการใช้เงิน ของรัฐบาล USA ไม่ได้น้อยลดลงเลย ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของ USA ในปี 2010 อยู่ที่ประมาณ 1,300,000,000,000 US$ และจะเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ และ ปีหน้า
ต้องใช้เงิน แต่ไม่มีเงิน >> กู้เงิน (ขายพันธบัตรรัฐบาล) แต่ไม่มีคนซื้อ >> พิมพ์เงินใช้เอง
คุ้นๆ ไหมครับ แม้ว่าเหตุผลเบื้องหลัง และ เป้าหมายของการพิมพ์เงินของ USA ในช่วง 2 ปีที่ผ่านจะต่างไป แต่สุดท้าย All problems are met by QE (ปัญหาทั้งหมดถูกแก้ไขได้ด้วยการพิมพ์เงินเพิ่ม)
สิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่พ้นคือ แบงค์กงเต็กเอฟเฟ็ก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่จะเกิดรุนแรงขึ้นอีก เมื่อมีปริมาณเงินเติมเข้าไปในระบบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อพยายามประคับประคองค่าเงินของตนผูกกับ US$
โอกาส เดียวในการชะลอผลกระทบนี้ คือรัฐบาลสหรัฐต้องตัดลดงบประมาณอย่างเฉียบพลัน ทันที เพื่อไม่ให้มีการกู้เพิ่ม ไม่พิมพ์เงินเพิ่มอีก (อย่าลืมว่า ทำได้เพียงชะลอปัญหา เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว) ซึ่งจะกระทบทันทีต่อสวัสดิการของประชาชนชาว USA ต้องปรับลดจำนวนพนักงานของรัฐ ซึ่งก็จะกระทบต่อตัวเลขการจ้างงาน กำลังซื้อในประเทศ ประชาชนจะไม่พอใจรัฐบาล เป็นทางรอดที่ต้องยอมเจ็บเจียนตาย (หากยังไม่ลืม นายกชวน และ นายธารินทร์ รมว. คลัง ยังโดนด่ามาจนถึงวันนี้เพราะทำแบบนี้)
แต่ คุณจะได้เห็น ความกล้าหาญแบบนี้จากนักการในโลกยุคนี้บ้างไหม ยุคที่นักการเมืองไม่ว่าหน้าไหน ประเทศไหน ทำนโยบายเพียงแต่หวังเพียงการเลือกตั้งครั้งหน้าเท่านั้น
ประชานิยม คือสิ่งเสพติด ติดทั้งประชาชน และ นักการเมือง
เรากำลังโกงจากลูกหลานของเรา
- ค่าเงิน US$ กำลังจะอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว
ทุก ครั้งที่มีความไม่สงบ มีสงคราม US$ จะแข็งค่าให้เห็นเสมอ ในฐานะ safe heaven ที่ปลอดภัยแข็งแกร่ง ไม่มีวันล่มสลาย แต่เหตุการณ์ความไม่สงบ การจลาจล ที่กำลังลุกลามบานปลายอยู่ในขณะนี้ กลับไม่มีส่วนช่วยให้ค่าเงิน US$ แข็งขึ้นเลย
เพราะความเชื่อมั่นต่อ US$ ในฐานะ Safe Heaven มันหมดไปแล้ว
US$ กำลังถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงเงินสกุลหนึ่ง เท่าเทียมกับเงินสกุล Euro, Yen, Yuan, ฯลฯ
When Credit is lost, All is lost.
แม้ หลายประเทศพยายามลดการใช้ US$ ในการทำธุรกรรมซื้อขายระหว่างกันมากขึ้น แต่โครงสร้างเศรษฐกิจโลกยังอ้างอิงกับ US$ อยู่เป็นหลักโดยเฉพาะการซื้อขาย commodities ต่างๆ เช่นน้ำมัน ทอง เงิน ทองแดง ยางพารา น้ำมันปาล์ม ข้าว ถั่วเหลือง ฯลฯ
เมื่อ US$ อ่อนค่า หมายความว่า ราคา commodities ทั้งหลายกำลังจะแพงขึ้น ทั้งกระดาน โลหะทุกชนิด พืชอาหารทุกชนิด พลังงานทุกชนิด กำลังจะแพงขึ้น แพงขึ้นมาก
ยิ่ง ธนาคารกลางต่างๆ พยายามผูกค่าเงินของตนกับ US$ มากขึ้นเท่าใด ประชาชนในประเทศเหล่านั้นก็จะต้องก้มหน้าก้มตารับกับสภาพข้าวยากหมากแพง แบบเดียวกับที่กำลังจะเกิดขึ้นในสหรัฐ
ต่างกัน เพียง สหรัฐสามารถพิมพ์เงินขึ้นมาเอง เพื่อใช้ซื้อของเหล่านั้นได้เอง
แต่ประเทศเล็กๆ เช่นประเทศไทย ทำแบบนั้นไม่ได้!!!
(ตราบที่ยังไม่มีประเทศไหนยอมรับเงินบาทเพื่อแลกกับสินค้าของประเทศคู่ค้า)
มี การพูดคุยในกลุ่มประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจแล้ว นำโดย IMF เพื่อร่วมกันหาเงินสกุลใหม่ เป็นตัวกลางซื้อขายของเศรษฐกิจโลกแทน US$ แต่เราคงไม่สามารถได้รับความคืบหน้าในเรื่องนี้ในเวลาอันใกล้
http://www.guardian.co.uk/business/2011/feb/10/imf-boss-calls-for-world-currency
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ !!
ก่อนที่จะมีการพูดคุยกันเป็นรูปเป็นร่างอย่างจริงจัง US$ คงเสื่อมค่า และทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจโลกไปมากแล้ว
รัฐบาล จีน อินเดีย กระตุ้นให้ประชาชนในประเทศซื้อและถือครองทองคำมาตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อ preserve value ของทรัพย์สินของตน ทำไม? เขามองเห็นว่าค่าเงินเขาจะอ่อนค่าลงใช่หรือไม่ (เปรียบเทียบกับราคาของสินค้า ไม่ใช่เปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ) เพราะเขาผูกค่าเงินตัวเองไว้กับ US$ หากค่าเงิน US$ ล้ม มีปัญหา ค่าเงินของประเทศเหล่านี้ก็จะมีปัญหาตามไปด้วยอย่างแน่นอน
อย่า ลืมว่าระบบมันล่มไปแล้ว สิ่งที่ยืนอยู่ได้ตอนนี้ ตั้งอยู่บนขาของความเชื่อมั่นเพียงขาเดียว เมื่อเริ่มมีความหวามระแวงในความเชื่อมั่นในสกุล US$ หรือความสามารถในการชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลของ USA เพียงเล็กน้อย เศรษฐกิจจะล้มครืนในพริบตา (ลองนึกภาพเศรษฐกิจไทยช่วงต้มยำกุ้ง เราดูเหมือนไม่มีปัญหา(ทั้งๆ ที่ปัญหาหมักหมมมานาน) จนกระทั่งวันที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เปรียบเหมือนฝีแตก หลังจากนั้นก็เห็นความฟอนเฟะทีหมักหมมอยู่)
คุณพร้อมหรือยัง กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งน่ากลัวว่าจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที มากกว่าแบบค่อยเป็นค่อยไป
เป็น ความจำเป็นเร่งด่วน ที่เราจะดำรงตนในความไม่ประมาท ดูแลตัวเอง ครอบครัว คนรัก มิตรสหาย ของคุณ เพื่อฝ่าฟันยุคข้าวยากหมากแพงที่กำลังใกล้เข้ามา ไปด้วยกัน
ด้วยความปรารถนาดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น